สระบุรี-เปิดแล้วงานท่องเที่ยวย้อนรอยประวัติศาสตร์ไหว้พระสบายใจวัดพระพุทธบาท **ชาญวิทย์ คำนวนวุฒิ รายงาน**

แชร์ข่าวนี้

วันที่ 7 พ.ค.2565 ที่ ศาลาอบรมสงฆ์เฉลิมพระเกียรติ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร อ.หระพุทธบาท จ.สระบุรี จัดให้มีพิธีเปิดงาน “การจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยว อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดระบุรี” นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ ผู้ว่าราชการ จ.สระบุรี เป็นประธาน โดยได้รับเกียรติจากนายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เดินทางมาปาฐกถาพิเศษฯ นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการ จ.ลพบุรี,นายประทีป การมิตรี รองผู้ว่าราชการ จ.พระนครศรีอยุธยา,นายเอกพร จุ้ยสำราญ รองผู้ว่าฯจ.สระบุรี  นายมงคล ศิริพัฒนกุล นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จ.สระบุรี นางวชิราภรณ์ เพชรล้อม วัฒนธรรม จ.สระบุรี, นายธนวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ ประธานสภาวัฒนธรรม จ.สระบุรี นางรัศนญพร มโนศรีบุญรัตธ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จ.สระบุรี นางวันเพ็ญ นันทปัญญา นายกเทศมนตรีเมืองพระพุทธบาท นางอรนุช คูวิจิตรสุวรรณ นายกเทศมนตรีตำบลวิหารแดง ปราชญ์ชาวบ้าน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะ ครู นิสิต นักศึกษา นักเรียน ร่วมในพิธีกว่า 500 คน

ก่อนพิธีเปิด พระครูศรีวรกิจจารักษ์ (รองเจ้าคณะจังหวัดสระบุรี) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาท ในนาม พระเดชพระคุณ”พระธรรมปิฏก” (อดีต) เจ้าคณะจังหวัดสระบุรี ได้ขึ้น กล่าวถึงประวัติความเป็นมา (สังเขป) ของวัดพระพุทธบาทที่ถูกค้นพบมายาวนาน เกือบ 400 ปีพร้อมอำนวยอวยพร แก่คณะกรรมการผู้จัดงาน และผู้เข้าร่วมในพิธี

จากนั้น นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ ผู้ว่าราชการ จ.สระบุรี กล่าวต้อนรับ อธิบดีกรมศิลปากร และ ผู้ว่าราชการ จ.พระนครศรีอยุธยา/ผู้ร่วมงาน และกล่าวเปิดงานว่า วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหารเป็นวัดสำคัญของ จ.สระบุรี ถือเป็นมรดกของแผ่นดิน ขอขอบคุณ กรมศิลปากร สมาคมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมฯ สมาคมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวฯ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ที่มีส่วนร่วมกันดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวอำเภอพระพุทธบาท “เที่ยวสบายใจ ไหว้พระพุทธบาทสระบุรี” ขึ้นในครั้งนี้ เพื่ออนุรักษ์และสืบสาน ศิลปะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่น ถือเป็นก้าวแรกหลังจากประเทศไทยต้องประสบกับสถานการณ์ การแพร่ระบาดของของโควิด-19 ทำให้การท่องเที่ยวต้องหยุดชะงักไปถึง 2 ปีเศษ รอย”พระพุทธบาท” ถือเป็นโบราณสถานที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าว ถือเป็นการเปิดตลาดการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคกลางตอนบน (พระนครศรีอยุธยา/ลพบุรี) และ สระบุรีให้สอดคล้อง ในวัฒนธรรมประเพณีและแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังซบเซามานาน จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาเที่ยวงาน “ไหว้พระสบายใจที่ วัดพระพุทธบาท” ซึ่งจะยังคงมีต่อในวันพรุ่งนี้ ( 8 พ.ค.65) อีก 1 วัน

หลังกล่าวเปิดโครงการ ผู้ว่าราชการ จ.สระบุรี กล่าวเรียนเชิญ นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ขึ้นบนเวทีรับมอบของที่ระลึก และร่วม ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ทิศทางการอนุรักษ์ และพัฒนาโบราณสถานของ กมศิลปากร ; โอกาส และการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานของชุมชน” เมือปาฐกถาฯ จบแล้ว อธิบดีกรมศิลปากร ได้เดินชมนิทรรศการ ทางประวัติศาสตร์ของวัดพระพุทธบาท และพบปะแนะนำให้ความรู้ แก่เด็กๆนักเรียน ถึงแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์สำคัญๆของวัดพระพุทธบาท

นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ถึงทิศทางการดูแล อนุรักษ์ “รอยพระพุทธบาท” และศาสนาวัตถุสำคัญ ภายในวัดพระพุทธบาทว่า วัดพระพุทธบาท จ.สระบุรี หลายๆส่วนมีบทบาท บูรณะล่วงหน้ามาก่อนแล้ว ปัจจุบัน เสนาสนะเป็นไปด้วยดี มีอยู่อันหนึ่งที่กรมศิลปากรกำลังพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อมาบูรณะ สิ่งนั้นก็คือ “ศาลาเปลื้องเครื่อง” ที่ค่อนข้างจะชำรุดอยู่มากคงจะต้องบูรณะของศิลปกรรมค่อนข้างมาก ที่นี่เล็กก็จริงแต่มีความสำคัญ มีกล่าวถึงในนิราศสำคัญหลายเรื่องเป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องดูแล แต่ส่วนอื่นๆ ทางวัดดูแลรักษาดีอยู่แล้ว เป็นความเมตตาของพระคุณท่านที่ได้ดูเป็นไปตาม พรบ.คณะสงฆ์ หากมีประเด็นอื่นๆท่านก็สามารถสอบถามไปยังหน่วยงานของเราที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ดูแล จ.สระบุรีด้วย

ในภาพรวมภาพใหญ่ๆ ของที่นี่มีความสมบูรณ์ดี ศักยภาพของวัดเองมีสูง สังเกตได้จากผู้ให้ความสนใจเข้ารับฟัง ปาฐกถาในวันนี้ จังหวัดให้ความสำคัญทิศทางที่จะพัฒนาให้เป็นลักษณะการท่องเที่ยว เชื่อว่าคงใช้เวลาอีกไม่นานนัก ส่วนต้นทุนทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะอาคารสำคัญๆกรมศิลปากรดำเนินการมาโดยตลอดผ่านการร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบ้าง หน่วยงานที่เป็นภาคีเครือข่ายบ้าง ที่จะทำเองก็ในส่วน “ศาลาเปลื้องเครื่อง”ที่เราจะเน้น

สำหรับ จ.สระบุรี นอกจากโบราณสถานของวัดพระพุทธบาทแล้ว ยังมีอีกหลายที่ ที่ควรจะไปเยี่ยมชม เช่น วัดพระพุทธฉาย นี่ก็เป็นโบราณสถานสำคัญ และยังมีองค์ประกอบอาคารหลายอย่างที่มีที่คล้ายๆกับวัดพระพุทธบาทแสดงให้เห็นว่าที่นี้ ศิลปะ สถาปัตยกรรมเป็นต้นแบบของที่อื่นในประเทศมาโดยตลอด ทั้งในพื้นที่เดียวกันบริเวณพื้นที่เดียวกันเอง ภาคกลาง เพราะสถาปัตยกรรมนี้ เป็นของช่างหลวง กรมศิลปากรเองมีช่างมาดูมาศึกษางานอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะคนของสำนักช่างสิบหมู่คนของช่างสิบหมู่  นักสถาปัตยกรรมเพราะฉะนั้นในส่วนของกรมศิลปากรดูแลโบราณสถาน อาคารสถาปัตยกรรมแล้ว กรมศิลปากร การสร้างความรับรู้ในหมู่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้สถาปัตยกรรม วรรณคดี วิจิตศิลป์ ในวัดพระพุทธบาทแห่งนี้นับว่าครบถ้วน สืบเนื่องมาอย่างน้อยก็เกือบ 400 ปี มีองค์ประกอบหลากหลาย ทั้ง ถนน ภูเขา น้ำ น้ำตก  แค่นี้ก็เที่ยวกันไม่ไหวแล้ว อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวในที่สุด

////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ชาญวิทย์ คำนวนวุฒิ รายงาน