สระบุรี-บพท.ผนึกกำลัง SCG แก่งคอย ยกระดับเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างงานในพื้นฐานนิเวศการลงทุนด้านพืชพลังงานสู่ BCG Model **ชาญวิทย์ คำนวนวุฒิ รายงาน**

แชร์ข่าวนี้

SCG (แก่งคอย) /หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ (บพท.) “บูรณาการความร่วมมือเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม”การสร้างงานในพื้นที่บนฐานนิเวศการลงทุนพืชพลังงานทดแทนพลังงานปัจจุบัน (ลดโลกร้อน)

วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 ณ.อาคารพัฒนาและฝึกอบรม 1 บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด ต.บ้านป่า อ.แก่งคอย จ.สระบุรี จัดแถลงข่าวเปิดตัว (Kick off) “การบูรณาการความร่วมมือเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สำหรับการสร้างงานในพื้นที่บนฐานนิเวศการลงทุนพืชพลังงาน” โดย นายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการ จ.สระบุรี เป็นประธาน นายเจริญชัย เฉลียวเกรียงไกร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ ( บพท.) รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รอง ผอ.หน่วย (บพท.)ฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรอาจารย์เอ็นนู ซื่อสุวรรณ กรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หัวหน้าส่วนราชการ/ผู้บริหารและผู้แทนของภาคีร่วมดำเนินการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต.บ้านป่า สื่อมวลชนร่วมในพิธี

นายเจริญชัย เฉลียวเกรียงไกร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด และประธานสภาอุตสาหกรรม จ.สระบุรี กล่าวต้อนรับ ผู้เข้าร่วมงาน พร้อมแถลงความร่วมมือ และทิศทางการดำเนินการร่วมกันเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สำหรับการสร้างงานในพื้นที่บนฐานนิเวศการลงทุนพืชพลังงาน

การเปิดตัว ( Kick off) การบูรณาการความร่วมมือเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สำหรับการสร้างงานในพื้นที่บนฐานนิเวศการลงทุนพลังงาน” ระหว่าง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด และ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ (บพท.) เกิดขึ้นภายใต้โครงการต้นแบบความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมในการสร้างงานในพื้นที่ผ่านการพัฒนาอาชีพบนฐานพืชพลังงานสู่ BCG จ.สระบุรี กรอบการวิจัย”การพัฒนาเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่อย่างชาญฉลาด”  ภายใต้แผนงานย่อยรายประเด็น “เมืองน่าอยู่อัจฉริยะ” โดยกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจและสังคมเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนของการจัดการท้องถิ่น “มีเป้าหมายคือ” การวิจัยส่งเสริมและยกระดับพื้นที่ชุมชน”โดยรอบโรงงาน” ในพื้นที่ ต.บ้านป่า ต.ท่าคล้อ ต.ทับกวาง ต.บ้านธาตุ ต.ท่าตูม ต.มวกเหล็ก และ ต.ท่ามะปราง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เป็นพื้นที่ต้นแบบระบบ “นิเวศพลังงาน” ในบทบาทของ “หญ้าเนเปียร์ อ้อย และข้าว”

วัตถุประสงค์โครงการ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่จากระเบียบการวิจัยระหว่างหน่วยงานบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัก สู่การเป็นฐานวิจัยและต้นแบบความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในการขับเคลื่อนงานวิจัยและการพัฒนาเชิงพื้นที่ร่วมกัน และเพื่อบูรณาการประสานความร่วมมือด้านความต้องการ ภาคประชาชน จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำหรับการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ใหม่ และ ความต้องหาร ภาคธุรกิจ จาก บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด สำหรับการรับซื้อพืชพลังงานสู่การแปรรูป การใช้งานและการต่อยอดห่วงโซ่อุปทาน “พืชพลังงาน” และเพื่อส่งเสริมสนับสนุน การจัดตั้งธุรกิจเพื่อสังคม พืชพลังงานในการขับเคลื่อนตัวแบบธุรกิจ ทั่วประเทศระหว่าง ภาคประชาชนในพื้นที่ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ ( บพท.) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอน) จำกัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกันดำเนินการ

ทางด้านนายเจริญชัย เฉลียวเกรียงไกร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด และประธานสภาอุตสาหกรรม จ.สระบุรี กล่าวว่า ร่วมกันการจัดทำ โมเดล การปลูกพืชพลังงาน โดยจะมีชุมชนเข้ามาทำร่วมกัน เพื่อให้เกิดรายได้ที่ยั่งยืนของชุมชน และเป็นการช่วยกันลดการใช้เชื้อเพลิง ฟอสซิล ที่จะทำให้โลกนี้ลดโลกร้อนด้วย รู้สึกมีความภาภูมิใจ และรู้สึกยินดี ที่เรื่องนี้เกิดขึ้นมาได้ ซึ่ง SCG เป็นองค์กรใหญ่ในประเทศไทย ซึ่งพยายามสานความร่วมมือเรื่องนี้เข้าสู่ระดับโลก ผ่านทางด้านการประชุม ค๊อบต่างๆ ของการประชุมที่จะเข้าสู่สภาวะโลกร้อน สิ่งที่ SCG ทำในวันนี้สอดคล้องกับสิ่งที่จะดูแล สิ่งแวดล้อม และใช้แนวทางการ บริหารแบบ ESG ตัว E = สิ่งแวดล้อม ตัว S = ทางสังคม ตัว G = การธรรมาภิบาลในเรื่องของการดูแล ในการปฏิบัติงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ตรงกับอุดการณ์ของ SCG ในการที่จะดูแลสังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ส่วนในเรื่องนี้เป็นการริเริ่ม เป็นสิ่งที่เอาเรื่องของคอนเซ็ป มาทำจริง ให้เกิดขึ้นจริง โดยการเริ่มจากตัวเล็กๆก่อน ใน ต.บ้านป่า อ.แก่งคอย สิ่งท่าคาดหวังคือ ความสำเร็จนี้ จะต้องขยายขึ้นมาให้กับองค์กร ธุรกิจแบบนี้ที่อยู่ในประเทศไทย ซึ่งจะอยู่อีกหลายร้อย หลายพันราย ให้ช่วยกันสานความร่วมมือตรงนี้ขึ้นมา และในพื้นที่อื่นๆด้วย ธุรกิจอื่นๆ ไม่ใช่ในเฉพาะ SCG ซึ่งองค์กรใหญ่ทุกองค์กรทำได้ จังหวัดทุกจังหวัดทำได้ ทำให้เห็นว่าประเทศไทย มีความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ในพื้นที่ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้จริงๆ ซึ่งเป็นความเชื่อที่เราคิดว่า SCG อยากทำให้มันเกิดขึ้น เพื่อขยายผลต่อไปให้ทั่วประเทศ

///////////////////////////////////////////////

ชาญวิทย์ คำนวนวุฒิ รายงาน