สระบุรี เทศบาลเมืองสระบุรี วว วช อบรมแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเมืองสระบุรีคาร์บอนต่ำ SARABURI SANDBOX การคัดแยกวัสดุรีไซเคิลเพื่อสร้างรายได้** ชาญวิทย์ คำนวนวุฒิ รายงาน

แชร์ข่าวนี้

 

สระบุรี เทศบาลเมืองสระบุรี วว วช อบรมแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเมืองสระบุรีคาร์บอนต่ำ SARABURI SANDBOX การคัดแยกวัสดุรีไซเคิลเพื่อสร้างรายได้

เทศบาลเมืองสระบุรี วว./วช.อบรมการคัดแยกวัสดุรีไซเคิลเพื่อสร้างรายได้และระบบรวบรวมวัสดุรีไซเคิล ในโครงการพัฒนาต้นแบบการจัดการวัสดุเหลือทิ้งในพื้นที่การเกษตรและชุมชนเมือง เชื่อมโยงสู่การใช้ประโยชน์ของวัสดุเหลือทิ้ง เพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน

 

วันที่ 20 สิงหาคม 2567  ที่อาคารรวมใจเทศบาลเมืองสระบุรี นายธีรรัตน์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง นายกเทศมนตรีเมืองสระบุรี ให้การต้อนรับและให้ความร่วมมือกับ วว./วช. จังหวัดสระบุรีและหน่วยงานภาคีเครือข่าย Kick Off โครงการพัฒนาต้นแบบจัดการวัสดุเหลือทิ้งในพื้นที่การเกษตร ชุมชนเมืองเชื่อมโยงสู่การใช้ประโยชน์ของวัสดุเหลือทิ้งเพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน

โดยมีนางสาวกาญจน์ชนิษฐา เอกแสงศรี ท้องถิ่นจังหวัดสระบุรี  กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.)กล่าวเปิดโครงการฯ พร้อมด้วย ดร.สิริพร ทิพยโสภณ นักยุทธศาสตร์ระดับสูงรักษาการแทน ผอ.สอวช. และ ดร.ประทีป วงศ์บัณทิต รองผู้ว่าฯ (วว.) ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ครูนักเรียน ผู้นำชุมชนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก(อทล.)ผู้แทนกลุ่มคลัสเตอร์ และผู้แทนอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ จำนวนกลุ่มเป้าหมายกว่า 300 คน เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม เพื่อพัฒนาต้นแบบการจัดการและลดปริมาณของเหลือทิ้งทางเกษตรกรรมและชุมชนเมืองในพื้นที่ นำร่องเพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอนจากการจัดของเหลือทิ้งทางเกษตรกรรมและชุมชนเมืองในพื้นที่ เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการจัดขยะของเหลือทิ้งคัดแยกของเหลือทิ้งให้กับประชาชนทั่วไปในพื้นที่ สร้างเครือข่ายระหว่างชุมชนภาครัฐ ผู้ประกอบการ ผู้ใช้ประโยชน์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในในพื้นที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.) จังหวัดสระบุรี เทศบาลเมืองสระบุรี สถาบันการศึกษาชุมชน กลุ่มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และหน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้บูรณาการขับเคลื่อนให้เกิดการจัดการวัสดุเหลือทิ้งในพื้นที่การเกษตรและชุมชนเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างงานสร้างอาชีพ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เรียนรู้เชื่อมโยงสู่การใช้ประโยชน์ของวัสดุเหลือทิ้งเพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืนในพื้นที่นำร่องจังหวัดสระบุรี เพื่อขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก ในรูปแบบความร่วมมือภาครัฐภาคเอกชนให้บรรลุผลครอบคลุมทุกด้าน ภายใต้แผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเมืองสระบุรีคาร์บอนต่ำ(SARABURI SANDBOX)ภายในกิจกรรมมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและบรรยายถ่ายทอดความรู้จากวิทยากรผู้เชียวชาญของ(วว.) เช่น การคัดแยกวัสดุรีไซเคิล การผลิตน้ำหมักชีวภาพและสารปรับปรุงดินจากขยะอินทรีย์ การผลิตผลิตภัณฑ์ถ่านมูลค่าเพิ่มจากชีวมวลและเปลือกผลไม้ การผลิตจานรองแก้วจากพลาสติก

ทางด้านนางสาวกาญจน์ชนิษฐา เอกแสงศรี ท้องถิ่นจังหวัดสระบุรี กล่าวว่า ในด้านการจัดการของเสีย ของโครงการสระบุรีแซน บ็อก ซึ่งในเรื่องโครงการพัฒนาต้นแบบจัดการวัสดุเหลือใช้ ในพื้นที่การเกษตร และชุมชนเมือง เชื่อมโยงสู่การใช้ประโยชน์ วัสดุเหลือทิ้งเพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืนในวันนี้ก็เป็นหนึ่งในโครงการดีๆที่จะช่วยสนับสนุน เรื่องการขับเคลื่อน สระบุรีแซนบ็อก สู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืนเป็นไปได้ด้วยดี

ซึ่งชุมชนของเทศบาลเมืองสระบุรี จะเป็นชุมชนที่มีความเป็นอยู่หนาแน่น แล้วก็เทศบาลเมืองสระบุรีเรามี โรงเรียนในสังกัด 10 แห่ง นอกจากเทศบาลเมืองสระบุรีแล้ว ในเขตเทศบางเมืองยังมีดรงเรียนในสังกัดหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ซึ่งการสร้างวินัย และการสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะในครัวเรือน จะทำให้เขารู้แล้วว่า การคัดแยกขยะแล้วเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม

เมื่อการคัดแยกของเหลือทิ้งหรือคนทั่วไปอาจจะเรียกว่าขยะ แต่ขยะสำหรับสระบุรีเป็นขยะที่มีมูลค่า ไม่จะนำไปทำสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ จากของเหลือทิ้ง เช่นถุงกาแฟ ขวดน้ำพลาสติก สามารถนำมาแปรรูปขายได้ อีกส่วนหนึ่งก็คือนำมาทำเป็นพลังงาน เพราะว่าสระบุรีเรามีแหล่งรวมอุตสาหกรรมต่างๆ

ทางด้าน ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่แห่งประเทศไทย(วว) กล่าวว่า การพัฒนาเมืองสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ส่วนที่สำคัญก็คือในเรื่องของต้นทางที่จะต้องปลูกฝังจิตสำนึกในการที่จะแยกขยะ มองเห็นคุณค่าของเหลือทิ้งว่า นำมาสู่การสร้างมูลค่าได้ และนำมาสู่การสร้างเป็นพลังงานได้ การดำเนินการจำเป็นที่จะต้องใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม หรือผลงานวิจัยที่ได้มีการพิสูจน์แล้ว ว่าสามารถทำได้จริง เอามาใช้ในพื้นที่ เพราะฉะนั้นในโครงการนี้จะเป็นโครงการต้นแบบ ที่เรานำเอาตัววัสดุเหลือทิ้งทางด้านการเกษตร และวัสดุเหลือทิ้งจากชุมชนเมืองมาให้เห็นว่าสามารถที่จะเอาเทคโนโลยีใส่เข้าไป แล้วก็เกิดประโยชน์ได้จริง

ซึ่งในพื้นที่สระบุรีที่เราใช้คำว่าเป็น สระบุรีแซนบ็อก เป็นต้นแบบที่ (วว) จะนำเอาเทคโนโลยีที่สำคัญในการที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่า เวสทรูเอ็นเนจี้ กับเวสทรูเวรู ว่าทำได้จริง และก็ในการดำเนินการครั้งนี้ เรานำเทคโนโลยี หลายเทคโนโลยีมา และก็สามารถปฏิบัติได้จริงแล้ววันนี้เป็นวันที่เรามาในเรื่องของการอบรมให้ฝึกปฏิบัติว่าเวสทรูเอ็นเนจี้ กับเวสทรูเวรู ว่ามีวิธีการอย่างไรบ้าง

ทางด้านนายธีรรัตน์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง นายกเทศมนตรีเมืองสระบุรี กล่าวว่า ซึ่งทางเทศบาลเมืองสระบุรีมีนโยบาย การจัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางซึ่งเป็นนโยบายหลัก ซึ่งจะขับเคลื่อนให้สอดคล้องกับนโยบาย ของทางจังหวัดสระบุรี โดยทางนายบัญชา เชาวรินทร์ ผวจ.สระบุรี ได้นำโครงการสระบุรีแซนบ็อก ไปเสนอสู่คณะรัฐมนตรี โดยทางคณะรัฐมนตรี ก็อยากจะเห็นสระบุรีแซนบ็อก เป็นต้นแบบของจังหวัดอื่นๆ โดยการนำหลักการ 17 ประการมาขับเคลื่อนนโยบายที่จะให้การพัฒนาเมืองสระบุรีให้สู่ เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน เป็นการสอดคล้องกับนโยบายของ ยูเนสโก้ ด้วย และของทางประเทศไทยด้วย

** ชาญวิทย์ คำนวนวุฒิ รายงาน