ประจวบคีรีขันธ์ “เซ้ม จักพันธ์ “ปชป. ยึดเก้าอี้ ส.ส.ประจวบฯเขต 2 ทิ้ง”ส.ส.เพื่อไทยขาดลอย ส่วนเขต 1 อดีต ส.ส.”ต๊ง มนตรี”ปชป.สอบตกพ่าย”ลูกหิน สังคม”ภูมิใจไทย เขต 3 อดีต ส.ส.”ประมวล”ยังยึดเก้าอี้เหนียวแน่น** บุญมา ลิบลับ รายงาน

แชร์ข่าวนี้

ประจวบคีรีขันธ์ “เซ้ม จักพันธ์ “ปชป. ยึดเก้าอี้ ส.ส.ประจวบฯเขต 2 ทิ้ง” ส.ส.เพื่อไทยขาดลอย ส่วนเขต 1 อดีต ส.ส.”ต๊ง มนตรี”ปชป.สอบตกพ่าย”ลูกหิน สังคม”ภูมิใจไทย เขต 3 อดีต ส.ส.”ประมวล”ยังยึดเก้าอี้เหนียวแน่น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังปิดหีบการลงคะแนนเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในเวลา 17.00 น. วันที่ 14 พ.ค.2566 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเลือกตั้ง ส.ส. ทั่วไปพร้อมกันทั่วประเทศ โดยในส่วนของ จ.ประจวบคีรีขันธ์ มี ส.ส.ได้จำนวน 3 คน ใน 3 เขตเลือกตั้ง ส่วนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งของ จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีจำนวน 429,883 คน สำหรับจำนวนหน่วยเลือกตั้ง แบ่งออกเป็นในเขตเลือกตั้งที่ 1 จำนวน 215 หน่วย ประกอบด้วย อ.เมือง จำนวน 89 หน่วย (ยกเว้น ต.ห้วยทราย) อ.กุยบุรี จำนวน 53 หน่วย อ.สามร้อยยอด จำนวน 58 หน่วย อ.ปราณบุรี (เฉพาะ ต.ปากน้ำปราณ จำนวน 15 หน่วย ) เขตเลือกตั้งที่ 2 จำนวน 194 หน่วย ประกอบด้วย อ.หัวหิน จำนวน 126 หน่วย อ.ปราณบุรี จำนวน 68 หน่วย (ยกเว้น ต.ปากน้ำปราณ) เขตเลือกตั้งที่ 3 จำนวน 220 หน่วย ประกอบด้วย อ.เมือง (เฉพาะ ต.ห้วยทราย จำนวน 14 หน่วย ) อ.ทับสะแก จำนวน 68 หน่วย อ.บางสะพาน จำนวน 93 หน่วย อ.บางสะพานน้อย จำนวน 45 หน่วย

โดยผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการของ จ.ประจวบฯซึ่งผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งมีจำนวน 429,883 คน และมีจำนวนผู้มาแสดงตนใช้สิทธิเลือกตั้งรวมทั้ง 3 เขต จำนวน 328,366 คน คิดเป็น 76.38 %  โดยผลการนับคะแนนเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ในทั้ง 3 เขต มีดังนี้

เขตเลือกตั้งที่ 1 มีจำนวนผู้สมัครจำนวน 12 คน ลำดับที่ 1 ( ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.)  ได้แก่ เบอร์ 4 “ลูกหิน” นายสังคม แดงโชติ พรรคภูมิใจไทย ได้ 36,699 คะแนน ลำดับที่ 2 เบอร์ 1 “ต๊ง” นายมนตรี ปาน้อยนนท์ อดีต ส.ส.เจ้าของพื้นที่เดิม 5 สมัย จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้ 34,478 คะแนน ลำดับที่ 3 เบอร์ 6 นายภูวดล ด่านรัตนชัย พรรคก้าวไกล ได้ 18,021 คะแนน ลำดับที่ 4 เบอร์ 2 นายวัชรพล ปลั่งศรีสกุล พรรคเพื่อไทย ได้ 7,963 คะแนน และลำดับที่ 5 เบอร์ 11 นายณภัทร ชุ่มจิตตรี หรือ “คิง ก่อนบ่าย”ดาราศิลปินตลกชื่อดัง พรรคพลังประชารัฐ ได้ 6,042 คะแนน ลำดับ 6 เบอร์ 7 นายอุดร โพธิ์พ่วง พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ 3,337 คะแนน ลำดับ 7 เบอร์ 3 นายพันธ์ศักดิ์ เพชรพิทักษ์ชน พรรคไทยสร้างไทย ได้ 336 คะแนน ลำดับ 8 เบอร์ 5 น.ส.วัลยา กลิ่นอยู่ พรรคเสรีรวมไทย ได้ 335 คะแนน ลำดับ 9 เรืออากาศตรีเสริมพงษ์ ลิบลับ พรรคคลองไทย ได้ 235 คะแนน ลำดับ 10 เบอร์ 9 นายภัทรพล พูลศักดิ์ พรรคแนวทางใหม่ ได้ 143 คะแนน ลำดับ 11 เบอร์ 10 นายประจักษ์ ศรเฉลิม พรรคไทยภักดี ได้ 114 คะแนน และ ลำดับ 12 เบอร์ 8 นายสายันต์ ปุ่นกอ พรรคไทยศรีวิไลย์ ได้ 109 คะแนน  ทั้งนี้จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งของ เขต 1 มีจำนวน 149,485 คน ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง จำนวน 114,479 คน คิดเป็น 76.58 % บัตรดี 107,812 ใบ คิดเป็น 94.18 % บัตรเสีย 4,428 ใบ คิดเป็น 3.87 % บัตรไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด 2,238 ใบ คิดเป็น 1.95 %

ส่วนผลการเลือกตั้ง เขต 2 ซึ่งมีผู้สมัครจำนวน 10 คน ลำดับที่ 1 ( ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.)  เบอร์ 2 “เซ้ม” นายจักพันธ์ ปิยพรไพบูลย์ พรรคประชาธิปัตย์ อดีต ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ หลานชาย นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และอดีต รมว.เกษตรฯ ได้ 42,736 คะแนน ลำดับ 2 เบอร์ 4 “บัง”นายพรเทพ วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์ พรรคเพื่อไทย อดีต ส.ส.เจ้าของพื้นที่เดิมสมัยที่แล้ว ได้ 26,197 คะแนน ลำดับ 3 เบอร์ 1 น.ส.กัลปังหา โพธิ์เอี่ยม ฟิงเค่อ พรรคก้าวไกล ได้ 20,797 คะแนน ลำดับ 4 เบอร์ 5 “เป้า”นายพิษณุ กล้าขาย พรรคพลังประชารัฐ ได้ 7,894 คะแนน ลำดับ 5  เบอร์ 7 นายอุดร ออลสัน พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ 4,726 คะแนน ลำดับ 6 เบอร์ 6 น.ส.ปาณิสรา น่วมทอง พรรคเสรีรวมไทย ได้ 721 คะแนน ลำดับ 7 เบอร์ 3 นายสุกฤษ รักเมือง พรรคไทยสร้างไทย ได้ 618 คะแนน ลำดับ 8 เบอร์ 9 นายดิเรก พิรเวชสกุล พรรคภูมิใจไทย ได้ 217 คะแนน ลำดับ 9 เบอร์ 8 นายนพดลนคร บูชากรณ์ พรรคแนวทางใหม่ ได้ 177 คะแนน และลำดับ 10 เบอร์ 10 นายกิตติ ขันแข็ง พรรคคลองไทย ได้ 110 คะแนน ทั้งนี้จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งของ เขต 2 มีจำนวน 143,310 คน ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง จำนวน 110,411 คน คิดเป็น 77.04 % บัตรดี 104,193 ใบ คิดเป็น 94.37 % บัตรเสีย 3,757 ใบ คิดเป็น 3.40 % บัตรไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด 2,461 ใบ คิดเป็น 2.23 %

สำหรับผลการเลือกตั้งของเขต 3 ซึ่งมีผู้สมัครจำนวน 9 คน โดยลำดับที่ 1 ( ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.) ได้แก่ เบอร์ 6 นายประมวล พงศ์ถาวราเดช พรรคประชาธิปัตย์ อดีต ส.ส. เจ้าของพื้นที่เดิม ได้ 23,215 คะแนน ลำดับ 2 เบอร์ 3 นายวนิชย์ ปักกิ่งเมือง พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ 18,215 คะแนน ลำดับ 3 เบอร์ 2 นายสมพงค์ ทั่งศรี พรรคพลังประชารัฐ ได้ 17,601 คะแนน ลำดับ 4 เบอร์ 8 นายอนุชา รุ่งมรกต พรรคก้าวไกล ได้ 17,491 คะแนน ลำดับ 5 เบอร์ 7 น.ส.มาเรีย เผ่าประทาน พรรคภูมิใจไทย ได้ 14,119 คะแนน ลำดับ 6 เบอร์ 1 นายจีราวัฒน์ กำบัง พรรคเพื่อไทย ได้ 4,769 คะแนน ลำดับ 7 เบอร์ 4 พ.ต.อ.เอกราช หุ่นงาม พรรคไทยภักดี ได้ 832 คะแนน ลำดับ 8 เบอร์ 5 นายสุรศักดิ์ รัตนชัย พรรคเสรีรวมไทย ได้ 624 คะแนน และลำดับ 9 เบอร์ 9 นายพัฒนะ นาคชนะ พรรคคลองไทย ได้ 251 คะแนน  ทั้งนี้ จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งของ เขต 3 มีจำนวน 137,088 คน ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง จำนวน 103,476 คน คิดเป็น 75.48 % บัตรดี 97,118 ใบ คิดเป็น 93.86 % บัตรเสีย 4,219 ใบ คิดเป็น 4.08 % บัตรไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด 2,139 ใบ คิดเป็น 2.07 %

ทั้งนี้ การแจ้งเหตุไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่มีเหตุจำเป็นไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ให้แจ้งเหตุไม่อาจไปใช้สิทธิ ภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง ตั้งแต่วันที่ 15 – 21 พฤษภาคม 2566 ผ่านช่องทาง ดังนี้ 1.ยื่นด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นยื่นแทนต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยทำหนังสือแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิ พร้อมระบุเลขประจำตัวประชาชนและที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน 2.จัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ถึงนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น และ 3.แจ้งผ่านเว็บไซต์สำนักบริหารการทะเบียน stat.bora.dopa.go.th หรือทางแอปพลิเคชัน SMART VOTE

** บุญมา ลิบลับ รายงาน