สระบุรี  คืบหน้า ผอ.โรงเรียนเทศบาลแจงกรณีข้าวไม่พอกิน บูดอุปกรณ์การเรียนไม่พอ** ชาญวิทย์ คำนวนวุฒิ รายงาน

แชร์ข่าวนี้

 

สระบุรี  คืบหน้า ผอ.โรงเรียนเทศบาลแจงกรณีข้าวไม่พอกิน บูดอุปกรณ์การเรียนไม่พอ

วันที่ 8 กรกฎาคม 2567 จากกรณีที่มีผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรีลงในสื่อโซเซียล และร้องกับทีมข่าวว่า ลูกของตนและนักเรียน ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง(เทศบาล3) เขตเทศบาลเมืองสระบุรี อาหารกลางวันไม่พอ รับประทาน และสื่อการเรียนไม่เพียงพอต่อนักเรียน พร้อมการเรียกเก็บเงินประกันภัยฯตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

ล่าสุดวันนี้ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ยังโรงเรียนเทศบาล 3 วัดบ้านอ้อย เพื่อขอคำชี้แจงจากผู้บริหารโรงเรียนเพื่อสอบถามข้อเท็จจริง กับทางโรงเรียนดังกล่าว พบว่า ทางโรงเรียนผู้คณะบริหารโรงเรียน  พร้อม ดร.น้ำอ้อย มีสัตย์ธรรม ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสระบุรี ได้  เข้าประชุม เรื่องปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งหลังจากที่ได้ประชุมกันแล้วเสร็จ โดยได้ใช้เวลาร่วม 3 ชั่วโมง ทางผู้สื่อข่าวได้ขอสอบถามกับ ผอ.กองการสำนักการศึกษา ได้รับคำตอบว่า เรื่องนี้ขอให้ทางโรงเรียนเข้าชี้แจง กับกรณีที่เกิดขึ้น

จากนั้นผู้สื่อข่าวได้เข้าตรวจสอบภายในบริเวณโรงหารหารพบว่า เด็กนักเรียนระดับชั้นประถม กำลังนั่งรับประทานอาหารกันอยู่ ซึ่งในวันนี้เมนูอาหารประกอบด้วย ผัดแตงกวาใส่ไข่ ต้มไก่ใส่เห็ด ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้น ของหวานจะเป็นเฉาก๊วยน้ำแดง ซึ่งเด็กๆก็รับประทานกันอย่างเอร็ดอร่อย และเมื่อทานข้าวเสร็จมีอาหารเหลือเด็กจะนำมาเทที่กะละมัง และวางถาดหลุมไว้เพื่อที่จะนำไปล้าง ซึ่งจะเห็นว่าเด็กๆทานข้านเหลือกันเป็นจำนวนมาก

ทางด้านนางสาวศรุดา วงษ์มหิง รักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 3 เผยถึงกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเล่าว่าจากกรณีที่ว่าเรื่องอาหารไม่เพียงพอกับนักเรียนกิน ตนเองคิดว่าไม่น่าจะมีมูลความจริง เนื่องจากว่ามีมาตรการตลอดมา และมีครูที่รับผิดชอบดูแลอยู่ ซึ่งทางโรงเรียนก็มีนโยบาย “ไม่อิ่มเติมได้” คือสามารถเติมได้ตลอด ซึ่งจะมีครูดูแลอยู่ตลอด และจะมีเจ้าของโครงการที่รับผิดชอบคอยดูแลให้อยู่ ส่วนเรื่องเด็กนักเรียนที่ครูปล่อยช้าแล้วอาหารหมดนั้น ซึ่งทางโรงเรียนก็เพิ่งรับทราบ แต่ทางเราก็จะมีครูคอยดูแลอยู่ตลอดเวลา และไม่เคยทราบว่าเกิดเหตุแบบนี้มาก่อน

ส่วนเรื่องอาหารที่ว่าบูด เสียนั้น ทางโรงเรียน และทางเทศบาลจะลงพื้นที่ตรวจสอบตลอด และเรื่องที่ว่ามีการนำอาหารเก่ามาปรุงใหม่ให้เด็กรับประทานนั้นรักษาการฯกล่าวเสริมว่า ตรงนี้ต้องหาข้อมูลความจริง เพราะว่าทางโรงเรียนก็มีการตรวจรับ และครูจะคอยชิมอยู่ตลอด ซึ่งตนเองก็ไม่ทราบว่าเอาข้อมูลมาจากไหน ส่วนสื่อการเรียนการสอนที่ว่าไม่เพียงพอนั้น ซึ่งทางวัสดุอุปกรณ์ทางเราจัดซื้อให้อย่างเพียงพอ ซึ่งไม่น่าที่จะไม่เพียงพอ จะคอยมีครูตรวจเช็คอยู่ตลอด และมีการทยอยส่งหนังสือให้เด็กๆอยู่เรื่อยๆ และมีการจัดซื้อให้อย่างเพียงพอในทุกๆปีที่ผ่านมา

ส่วนเรื่องค่าอุปกรณ์การเรียนนั้น เป็นงบจากทางสำนักฯส่งให้มาทางโรงเรียนส่วนเรื่องการประกันภัยฯ ที่เรียกเก็บกับเด็กนักเรียนเป็นจำนวนเงิน 350 บาทนั้น เนื่องจากว่าประกันภัยฯเดิมนั้นมีเด็กเคลม 200% บริษัทเดิมไม่รับเคลมประกันเลย ซึ่งของเก่ายังคงคุมครองได้ถึงเดือน มิถุนายน ทางโรงเรียนจึงได้เปลี่ยน บริษัทฯใหม่ แต่ก็ต้องมีการเช็คประวัติเก่าก่อนว่าต้องใช้เบี้ยประกัน เท่าไร และต้องยืนยันว่าเบิกสิทธิ์รักษาเท่าไร ซึ่งถ้าวงเงินรักษา 8,000 เบี้ยประกันก็จะเป็นเงิน 350 บาท ซึ่งตนเองมองดูว่าเด็ก และผู้ปกครองบางคนเงินก็ไม่ค่อยมี จึงได้ลดวงเงินประกันภัยฯลงมาเป็น 300 บาทสามารถเบิกสิทธิ์ได้ 6,000 บาท ซึ่งตนเองก็ได้ชี้แจงให้ผู้ปกครองเข้าใจแล้ว ซึ่งทุกวันนี้ทางผุ้ปกครองก็ยังไม่มีเงินจ่ายแต่ทางโรงเรียนก็ยังช่วยเหลือไปก่อน ซึ่งตอนนี้ทางประกันภัยฯก็เรียบร้อยแล้วคุ้มครองแล้ว

ทางด้านนางสาวศรุดา กล่าวเสริมว่า ต่อจากนี้ก็จะเรียกผู้ปกครองเด็กๆเข้ามาประชุมชี้แจง เพื่อประชุมทำความเข้าใจถึงสาเหตุต่างๆ เพื่อคลายข้อความสงสัย ในทุกๆเรื่องที่เกิดขึ้น

** ชาญวิทย์ คำนวนวุฒิ รายงาน